++++++++++++++++++++++
ภาษี
กับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน :
ดำริ ดวงนภา (Tax
Auditor)
บทความ
นี้
มีวัตถุประสงค์ ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงผลกระทบทางภาษีอากร เศรษฐกิจ การค้า
และการลงทุน จากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(Asian Economic Community : AEC)
ซึ่งประเทศสมาขิก ได้ลงนามในปฏิญญาตกลง ให้เป็นประชาคมเดียวกัน
โดยมีผลในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นี้ ผลจากการเปิดเสรี มีประเด็นที่ผู้ประกอบการไทย ควรต้องเตรียมพร้อม
เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเตรียมตัว ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ในขณะที่รัฐบาลก็จำเป็นต้องปฏิรูประบบภาษีให้เหมาะสมและทันสมัย ซึ่งได้วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขไว้
ในส่วนท้ายของบทความ
กล่าวได้ว่า
การลดอัตราการจัดเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลของรัฐบาลไทยที่ผ่านมา(เป็นการลดชั่วคราว)
จากอัตรา 30
% ให้เหลือ 23 % ในปีภาษี 2555 และ เหลือ 20 % ในปีภาษี 2556-2557-2558 นับเป็น มาตรการทางการคลัง มาตรการหนึ่ง
ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มแรงจูงใจการลงทุน
จากนักลงทุนต่างประเทศ
ถือเป็นนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลในการเตรียมความพร้อมในการรับมือ ก่อนการเปิดเสรี AEC ในสิ้นปี 2558 ที่จะถึงนี้
โดยที่ เป้าหมายของ AEC มีความต้องการให้ประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นตลาดเดียว และ เป็นฐานการผลิตเดียว(Single
Market & Single Production) ทั้งนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
และ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก วิธีการก็คือ ให้แต่ละประเทศ ( 10
ประเทศ) * ในกลุ่มประชาคมอาเซียน
มีการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และแรงงาน
ให้มีการย้ายปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้โดยเสรี
กระแสของการเปิดเสรี หรือ กระแสโลกาภิวัฒน์ ของการเคลื่อนย้ายทุน แรงงาน
การค้าเสรี เช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อ โครงสร้างรายได้ภาษี ของแต่ละประเทศ จากการศึกษาผลกระทบของ AEC ต่อโครงสร้างการจัดเก็บภาษี ของนักวิชาการภาษีอากร พบว่า เมื่อเปิดเสรี AEC จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้
ของแต่ละประเทศจะมีข้อจำกัดมากขึ้น
การกำหนดนโยบายภาษีไม่อาจกำหนดได้โดยเพียงการพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานภายในประเทศของตนเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
แต่ทุกประเทศ จำเป็นต้องพิจารณาทุกประเภทภาษีของตนเอง
เปรียบเทียบกับภาษีของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม AEC เพื่อการกำหนดนโยบายภาษีที่เหมาะสมและสอดคล้อง
ต่อการแข่งขัน เช่น (ตารางที่ : 1)
จากตารางที่ 1 จะพบว่า ทิศทางอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลง
และเมื่อเปิดเสรี AEC การแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
ก็จะเพิ่มมากขึ้น แต่ละประเทศก็อาจจะมีการปรับลดอัตราภาษีลงได้อีก
หรือ ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอื่น ๆ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ดังกรณี ที่ไทยได้ลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงจากเดิม 30%เป็น
23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในการปรับปรุงเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มโอกาส
ในการแข่งขัน เพราะเมื่อพิจารณา จากตาราง 1 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเดิมของไทย
เป็นอัตราที่สูง และใช้มาเป็นเวลานาน
โดยไม่มีการปรับลดลง เมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม
มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่มีขนาดเศรษฐกิจและศักยภาพ ใกล้เคียงกับประเทศไทย
ดังนั้นผลจากการเปิดเสรี AEC จึงทำให้ประเทศไทยไม่สามารถ
คงอัตราภาษีในอัตราเดิมนี้ไว้ได้ เนื่องจากไม่สามารถที่จะแข่งขันได้
ดังได้กล่าวในเบื้องต้นว่า
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีผลกระทบทางตรง ต่อโครงสร้างการจัดเก็บภาษี ของไทย
ในหลายๆ ด้านด้วยกัน โครงสร้างการจัดเก็บภาษีในที่นี้ หมายความรวมถึง กฎหมายภาษี
ประเภทภาษี อัตราภาษี และนโยบายการบริหารการจัดเก็บภาษี เช่นเมื่อเปิดเสรี AEC
ภาษีเงินได้มีแนวโน้มจะจัดเก็บได้ยากขึ้น
และจำนวนเงินภาษีมีทิศทางลดลง เนื่องจากฐานภาษีเงินได้มีการเคลื่อนย้ายกันง่ายขึ้น และ มีการแข่งขันเพื่อจูงใจในการลงทุน โดยการลดอัตราภาษีลง ตัวอย่างเช่น กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล ของประเทศ
A สูงกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศ
B นักลงทุนในประเทศ A ก็พร้อมที่ย้ายทุนและ
สถานประกอบการ จากประเทศ A ไปอยู่ที่ประเทศ B ได้ทันที ในทำนองเดียวกัน กรณีที่
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศ C เก็บภาษีในอัตราที่สูงมาก
เมื่อเทียบกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศ D ปรากฏการ สมองไหล (Brain Drain) ของแรงงานที่มีฝีมือ(Skilled
Labor) * ก็จะเกิดขึ้น
ได้แก่ แรงงานใน 7 สาขาวิชาชีพภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วม(Mutual
Recognition Agreement- MRA) คือ จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือจากประเทศ C
ไปอยู่และทำงานที่ประเทศ D เหลืออยู่ในประเทศในส่วนของแรงงานไม่มีฝีมือ
ที่มีข้อจำกัดในการโยกย้ายเท่านั้น
เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาษีไทยในปัจจุบัน จะพบปัญหาภาษีที่มีอยู่
รวมถึงปัญหา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมื่อเปิดเสรี AEC ประเด็นปัญหาภาษี ที่ควรต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
กล่าวคือ
ปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.
ภาษีเงินได้ของไทยไม่ใช่แหล่งรายได้หลัก
มีสัดส่วนในการจัดเก็บภาษี ประมาณ 25 % และมีฐานภาษีที่แคบ
จากข้อมูลสถิติของกรมสรรพากรในปี ภาษี 2553 พบว่าประชากรทั้งประเทศ 64
ล้านคน มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานจำนวน 38 ล้านคน
แต่ มีผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้ 9 ล้านแบบ และมีเพียง 2.3
ล้านแบบ เท่านั้นที่มีภาษีชำระ ดังนั้น เมื่อ AEC เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่ฐานภาษีจะแคบลง
และอัตราภาษีที่จะลดลงเนื่องจากการแข่งขันทำให้จำนวนสัดส่วนภาษีเงินได้จะลดลงไปอีก
แนวทางแก้ไข
:
ควรเพิ่มสัดส่วนภาษีเงินได้ โดยการขยายฐานภาษี ซึ่งถือว่าจำเป็น โดยการนำกลุ่มผู้เสียภาษีที่อยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบการเสียภาษี
เพิ่มขึ้น และพิจารณาปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากทรัพย์สิน ประเภท ที่ดินและโรงเรือน
และภาษีมรดกซึ่งเป็นฐานภาษีที่เคลื่อนย้ายได้ยาก วิธีนี้นอกจากจะช่วยชดเชยรายได้ทางภาษี
ที่ขาดหายไปแล้ว ยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ในการกระจายรายได้ด้วย
2.
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของไทยลดลงจาก
37%
มาอยู่ที่ 35 % ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศ
ในกลุ่ม AEC (ดูตารางที่ 2 ) ดังนั้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน
จึงไม่จูงใจ ที่จะดึงดูดนักลงทุน
หรือแรงงานมีฝีมือที่มีศักยภาพ เข้ามาอยู่ ทำงาน และเสียภาษีในประเทศไทยในทางกลับกัน
จะมีแรงงานฝีมือที่มีรายได้สูงของไทยย้ายไปทำงานในประเทศอื่นที่ภาษีต่ำกว่า
*สาขาวิศวกรรม ,สาขาวิชาชีพการพยาบาล ,สาขาสถาปัตยกรรม
,สาขาด้านการสำรวจ ,สาขาวิชาชีพแพทย์ ,สาขาวิชาชีพทันตแพทย์ และสาขาวิชาชีพบัญชี
3.
โครงสร้างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กฎหมายมีการให้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
จำนวนมากที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่สอดคล้อง กับค่าครองชีพพื้นฐาน เช่น
ผู้มีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้าง ไม่ว่าจะมีเงินได้ในปีภาษีจำนวนมากน้อยเท่าใด
กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40% แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท จึงเป็นการไม่ยุติธรรม และสอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจ ถึงแม้กฎหมายอาจจะมีการให้หักลดหย่อน
หรือค่า ยกเว้นต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อชดเชย แต่ก็ยังถือว่าไม่เหมาะสม และมีผลทำให้บิดเบือนกลไกการทำงานของภาษีเงินได้
ซึ่งเป็นภาษีทางตรง ในการทำหน้าที่กระจายรายได้ที่เป็นธรรมด้วย ส่วนค่าลดหย่อนก็มีจำนวนมาก
และรายการเงินได้ที่ยกเว้น ก็มีจำนวนกว่า 100 รายการ ทำให้ฐานภาษีแคบ และสึกกร่อน ซับซ้อน ทำให้ยุ่งยากมากในทางปฏิบัติในการเสียภาษีเงินได้
ถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างมาก เมื่อเปิด AEC
แนวทางแก้ไข : ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่าย
และค่าลดหย่อนให้เหมาะสม กับมาตรฐานการครองครองชีพ และให้มีความยืดหยุ่น
สอดคล้องกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ให้ภาษีเงินได้
ที่เป็นภาษีทางตรงทำหน้าที่อย่างถูกต้อง ตามหลักภาษีที่ดี ยกเลิก ค่าลดหย่อนเฉพาะกิจต่าง
ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถและหลักผลประโยชน์ ในการเสียภาษี ที่ทำให้เพิ่มความเหลื่อมล้ำ ในการกระจายรายได้
พิจารณายกเลิกรายการยกเว้นเงินได้ อาจคงมีไว้ได้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.
ภาษีเงินได้นิติบุคคล จะจัดเก็บได้ยากขึ้นและมีแนวโน้มจัดเก็บได้ลดลงเมื่อเปิด
AEC
เนื่องจากการย้ายฐานภาษีทำได้ง่ายขึ้นและการแข่งขันลดอัตราภาษี การส่งเสริมการลงทุน BOI และการให้สิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ทางภาษีผ่านมาตรการของรัฐ มีอยู่จำนวนมาก ทำให้สูญเสียรายได้ทางภาษีอากร ทั้งที่อาจจะไม่มีความเหมาะสมแล้วเมื่อเปิดเสรี
AEC
แนวทางแก้ไข : เมื่อ เปิดประชาคมเศรษฐกิจเสรีอาเซียน(AEC)
โดยสมบูรณ์แล้ว
ควรพิจารณาทบทวนสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน BOI และ การให้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีผ่านมาตรการต่าง ๆ ว่ายังมีประโยชน์ มีความเหมาะสม
หรือความคุ้มค่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ อย่างใด และพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับความจำเป็น จะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถดึงจำนวนเงินภาษีกลับเข้ามาในระบบได้เป็นจำนวนมากเพราะจากรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง
ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2554 พบว่ารายได้ที่สูญเสียไปจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในปีงบประมาณ
2553 มีจำนวนถึง 201,928 ล้านบาท
ปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อพิจารณาจากตารางที่ 2 : อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยจัดเก็บอยู่ที่
อัตรา 7 % เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด
เท่ากับประเทศสิงคโปร์ ส่วนประเทศมาเลเซีย บรูไน และพม่า
ไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประเทศมาเลเซียมีการจัดเก็บภาษีขาย (Sales
tax) ในอัตรา 5% และ 10% แล้วแต่ประเภทสินค้าและบริการ และมีการจัดเก็บภาษีบริการในอัตรา 5% ส่วนประเทศพม่าใช้ภาษีการค้า (Commercial tax) อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทกิจการตั้งแต่
5% - 30% (ข้อมูลจาก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
ภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยจึงเป็นอัตราภาษีที่แข่งขันได้ในกลุ่มอาเซียน
ถึงแม้จะยังไม่ต่ำที่สุดในโลก เพราะประเทศที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าไทย
จะเก็บในอัตรา 5
% เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น จากการศึกษาพบว่ารายได้จาก ภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ เมื่อเปิด
AEC แนวโน้มการจัดเก็บภาษีเงินได้ จะลดลง รัฐบาลไทย จึงต้องหันมาพึ่งพาภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ซึ่งเป็นฐานภาษีที่โยกย้ายได้ยาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจะมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นแหล่งรายได้หลักให้กับรัฐบาล
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในขณะนี้จึงน่าจะเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว ต่อเมื่อมีการเปิดเสรี
AEC
ในอนาคตแล้วจึงต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย และนโยบายของประเทศเพื่อนบ้านใหม่ เพื่อการปรับปรุงอัตราที่เหมาะสมต่อไป
5. ปัญหาของภาษีมูลค่าเพิ่ม
สิ่งที่ต้องทำเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่า จะมีมาตรการอย่างไรให้การจัดเก็บภาษีนี้
มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของฐานภาษี ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากยังอยู่นอกระบบ
ทั้งที่ตามความเป็นจริงกิจการและรายได้ เข้าหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ต้องเข้าระบบแล้ว
ทำอย่างไรให้ผู้ขาย ผู้ให้บริการออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย และจะป้องกัน และปราบปราม การออก การใช้ การซื้อขายใบกำกับภาษีปลอมได้อย่างไร ทำอย่างไรให้ กลไกสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เรียกว่า
ใบกำกับภาษี ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
27/09/2555
Update
05/11/2558
****บริษัท โปรซอฟท์ การบัญชี จำกัด อยู่ภายใต้การบริหารงานโดยผู้บริหารของสถาบันคัสเม่***
เยี่ยมชมเว็บไซต์โปรซอฟท์การบัญชี: http://prosoftthai.wix.com/rayongaccounting
FB Page: facebook/prosoftrayongaccounting
เยี่ยมชมเว็บไซต์สถาบันคัสเม่: www.kasmethai.com
FB Page: www.facebook.com/kasmeco
Add Friend: www.facebook.com/kasme.thai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น