รู้ทัน 3 ภาษีมรดก ภาค 2
ภาคต่อบทความ "รู้ทัน 3 ภาษีมรดก" สำหรับในภาคนี้เราจะพูดถึงประเด็นหัวข้อ "ภาษีการให้ หรือ Gift Tax" กันค่ะ
รู้ทันภาษีการให้ (Gift
Tax)
หลักการจัดเก็บภาษี
ภาษีการให้ มีการบังคับจัดเก็บกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินโอนเงินได้หรือทรัพย์สิน
ทั้งที่ เป็นสังหาริมทรัพย์( ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้) หรืออสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่
เคลื่อนที่ไม่ได้) ให้กับบุคคลอื่นขณะที่ตนเองยังมีชีวิตอยู่ ขอเน้นและให้ข้อสังเกตว่าผู้ให้ต้อง
ยังมีชีวิตอยู่ เพราะถ้าเสียชีวิตแล้ว จะไม่เรียกว่าการให้ การให้ในลักษณะนี้แต่เดิมกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์
ถ้าผู้รับนั้นได้รับจากการอุปการะ โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีไม่ว่าสิ่งของที่ได้รับนั้นจะมีจำนวนมากเท่าใด
จะได้รับยกเว้นภาษี ส่วนในกรณีการ ให้อสังหาริมทรัพย์ เดิมมีการยกเว้นภาษีการให้นี้
เฉพาะกรณีที่บิดามารดาโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองให้กับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมบุตรบุญธรรม
โดยไม่จำกัดจำนวน เช่นเดียวกัน ต่อเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ การให้ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์
หรืออสังหา ริมทรัพย์ ผู้ให้ หรือ
ผู้รับจากการให้มีภาระภาษี ดังนี้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
(Tax Payer)
กรณีสังหาริมทรัพย์(สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณได้เป็นเงิน)
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่
1.บุคคลธรรมดา ที่ได้รับทรัพย์สินหรือเงินได้จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หา
จากบุพพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส
2.บุคคลธรรมดา ที่ได้รับทรัพย์สินหรือเงินได้
จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หา
เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้จาก บุคคลซึ่งมิใช่บุพพการี
ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส
กรณีอสังหาริมทรัพย์
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่
***** บุพการี หมายถึง ญาติทางสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
***** ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
ฐานภาษี(Tax Base)
และอัตราภาษี(Tax Rate)
การให้สังหาริมทรัพย์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ได้แก่ผู้รับจากการให้ กรณีผู้รับให้ ได้รับเนื่อง จาก
การอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หา จากบุพพการีผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส ฐาน ภาษีที่ผู้มีเงินได้หรือผู้รับต้องเสียภาษี
คือ มูลค่าของเงินได้ส่วนที่เกิน 20
ล้านบาท ตลอดปี ภาษีนั้น เน้นย้ำว่าเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 20
ล้านเท่านั้น ส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้าน ได้รับ ยกเว้นภาษี
แต่ถ้าผู้รับ
ได้รับสังหาริมทรัพย์จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้ โดยเสน่หา
เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้จากบุคคล ซึ่งมิใช่
บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส การยกเว้นภาษีจากการให้นี้จะเหลือเพียง
10 ล้านบาท ตลอดปีภาษีนั้น ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท
ต้องเสียภาษี
อัตราภาษี ผู้เสียภาษี(ผู้รับจากการให้)ต้องเสียภาษีในอัตรา
ร้อยละ 5 ของเงินได้หรือ
ทรัพย์สิน ส่วนที่เกิน 20 ล้าน หรือ 10 ล้านบาท แล้วแต่กรณี
ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์
ภาษีการให้ใช้ในกรณีที่บิดามารดา โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
ฐานภาษีที่ต้องเสียภาษีคือเงินได้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น เงินได้ส่วน ที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษี
อัตราภาษี
การโอนอสังหาริมทรัพย์ เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5 ของส่วนที่เกิน20 ล้านบาท ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ในคราวที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
ในอสังหาริมทรัพย์
การยื่นแบบเสียภาษี
กฎหมายกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้อง มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี เช่นเดียวกันกับการยื่นแบบแสดง รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเงินได้ประเภทอื่น
ทั่วไป แต่กฎหมายให้สิทธิผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการให้สังหาริมทรัพย์
หรืออสังหาริมทรัพย์ ผู้เสียภาษีมีสิทธิจะเลือก
เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีสำหรับส่วนที่เกิน
10 ล้านบาท หรือ 20 ล้านบาท โดยที่ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้อย่างอื่น
หรือผู้เสียภาษีจะเลือกนำเงินได้ไป รวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ ก็ได้
รู้แนวทางปฏิบัติก่อนวันบังคับใช้กฎหมาย
ข้อที่ควรทราบ ในระหว่างที่กฎหมายยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับใช้ การให้ไม่ว่าจะเป็น การให้สังหาริมทรัพย์ หรือการให้อสังหาริมทรัพย์ แนวทางปฏิบัติในการจัดเก็บภาษียังคงใช้ บทบัญญัติตามกฎหมายเดิม
ก่อนที่จะมีการยกเลิก กล่าวคือ
เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่อง ในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
จะได้รับยกเว้นภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10) และ
เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์
หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบ ด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน(บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)จะได้รับยกเว้นภาษี
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(17)
ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
ข้อ 2 (18)
- โปรดติดตามตอนต่อไป -
บริษัท โปรซอฟท์ การบัญชี จำกัด และ สถาบันคัสเม่ ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามตีพิมพ์ ดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำบทความนี้ ก่อนที่จะได้รับอนุญาติจาก บริษัท โปรซอฟท์ การบัญชี จำกัด และ สถาบันคัสเม่
Visit Prosoft Website: http://prosoftthai.wix.com/rayongaccounting
Visit Kasme Website: www.kasmethai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น