สินทรัพย์ตามหลักบัญชี มีกี่ประเภท
โดย: สำนักงานบัญชี โปรซอฟท์การบัญชี จังหวัดระยอง
บริหารงานโดย: อ.ดำริ ดวงนภา, ผู้สอบบัญชีภาษีอากร & ผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบัน KASME
ติดต่องานบริการบัญชี: (033) 060 328 (คุณพัชรี), 081-459-8151 (อ.ดำริ)
เมนูวันนี้ เตรียมจิบความรู้ทางด้านสินทรัพย์ หรือ ทรัพย์สิน ว่าในทางบัญชี เราสามารถแบ่งได้กี่ประเภทสินทรัพย์ตามหลักบัญชี ( Types of Assets ) มีกี่ประเภท?
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) ในทางธุรกิจ คือตัวบ่งบอกสภาพคล่องของธุรกิจ และเป็นตัวช่วยที่ทำให้ธุรกิจเติบโต มีความมั่นคงมากขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่ธุรกิจเริ่มมีปัญหา หรือขาดสภาพคล่อง เช่น เงินสดขาดมือ เราสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้มาเป็นเงินสด เพื่อช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องได้ในทันที
สินทรัพย์หมุนเวียน ประกอบไปด้วย
1.เงินสด สินทรัพย์หมุนเวียนที่บ่งบอกสภาพคล่องของธุรกิจ ยิ่งมีเยอะ ยิ่งดี
2.เงินฝาก อีกหนึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญของธุรกิจนั่นคือเงินฝากในธนาคารที่สามารถฝากถอนได้ตามต้องการรวมถึงเช็คเงินสดที่มีการขึ้นวันที่แล้ว
3. เงินลงทุนชั่วคราว เงินลงทุนที่ถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เช่น หลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้
4. ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ที่เกิดจากกระบวนการค้าขาย ทำธุรกิจ โดยมีหนี้สินจากลูกหนี้ที่ค้างชำระซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสภาพคล่องให้ธุรกิจได้
5. ตั๋วรับเงิน เป็นตั๋วสัญญาให้เงิน โดยผู้ที่ออกตั๋วจะต้องให้เงินตามที่ระบุในสัญญาแก่ผู้รับเงิน ตั๋วดังกล่าวเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจอย่างหนึ่ง
6. เงินกู้ยืมระยะสั้น อีกหนึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจคือเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อเป็นทุนในการหมุนเวียนธุรกิจ
7. สินค้าคงเหลือ สำหรับสินค้าคงเหลือในธุรกิจก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตในธุรกิจและสามารถแปลเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ถ้าสินค้าคงเหลือมีมากเกินไปแสดงว่าคุณมีเงินทุนจมไปกับสินค้าจำนวนมาก
8. วัสดุสำนักงาน วัสดุต่างๆ ที่ใช้ภายในสำนักงานภายใน 1 ปี เรียกว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเช่นกัน
9. รายได้ค้างรับ รายได้ที่ต้องการได้อย่างแน่นอนแต่อาจจะยังไม่ได้รับในตอนนี้ เช่น ดอกเบี้ย เรียกว่ารายได้ค้างรับที่เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในธุรกิจเช่นกัน
10. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ปิดท้ายด้วยค่าใช้จ่ายค้างรับที่จะกลายเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน นั่นคือค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและสามารถเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ในอนาคต เช่น ประกัน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets) คือ สินทรัพย์ที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยเร็วที่สุด สินทรัพย์ประเภทนี้จะไม่แปลงเป็นเงินสดภายใน 12 เดือน เช่น ที่ดิน, อาคาร, เครื่องจักร เป็นต้น
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบไปด้วย
1. ที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์
2. เงินลงทุนระยะยาว
3. ลูกหนี้ระยะยาว
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้ และไม่มีลักษณะทางกายภาพ ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ต้องสามารถระบุได้
2.ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ
3.ต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
4. วัดต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ หากรายการใดไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทันที่ ยกเว้นรายการที่เกิดจากการรวมธุรกิจ ให้ถือรายการดังกล่าวเป็นค่าความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2563)
ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น
ค่าความนิยม(goodwill)
สิทธิบัตร (patents)
เครื่องหมายการค้า (trademarks) ยี่ห้อร้าน (trade names)
สิทธิสัญญาเช่า (leaseholds)
ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์(computer software)
ลิขสิทธิ์ (copyrights)
รายชื่อลูกค้า (customer’s list)
ใบอนุญาต (license)
ความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกับผู้ขายสินค้า (customer relationship) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น