เจ้าของกิจการไม่ควรพลาด ดาวน์โหลดฟรี!
e-Book คู่มือภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับเต็ม ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลย
เจ้าของกิจการไม่ควรพลาด ดาวน์โหลดฟรี!
e-Book คู่มือภาษีเงินได้นิติบุคคลฉบับเต็ม ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลย
สำนักงานบัญชีคุณภาพในระยอง สำนักงานบัญชีระยอง บัญชีระยอง จดทะเบียนธุรกิจระยอง จดจัดตั้งบริษัทระยอง eec ระยอง อู่ตะเภาระยอง สรรพากรระยอง ผู้สอบบัญชีระยอง ผู้สอบบัญชีภาษีอากรระยอง อาจารย์ภาษี อาจารย์ภาษีระยอง เทรนนิ่งภาษีระยอง ผู้ทำบัญชีระยอง ที่ปรึกษาทางด้านภาษีและนักวางแผนภาษีในระยอง หนังสือจดหมายเรียกตรวจจากสรรพากรในระยอง ผู้สอบบัญชีรับตรวจสอบบัญชีในระยอง โปรซอฟท์การบัญชี สถาบัน KASME Prosoft Accounting ระยอง TAX Accounting Rayong
ติดตามสาระน่ารู้ทางบัญชี ภาษี และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Prosoft Accounting & DSmart TAX ได้ทาง www.rayongtaxaccounting.com และทาง Facebook www.facebook.com/prosoftrayongaccounting พวกเรารอคุณอยู่ที่นี่ค่ะ😊
เมนูวันนี้ เสิร์ฟกระดาษทำการปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษีอากร สำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ดาวน์โหลดฟรีที่นี่ได้เลย
ที่มา: กรมสรรพากร
ส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สิน ทั้งสินออกแล้ว กรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกิจการมีในสินทรัพย์ เรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ – หนี้สิน)
1.กิจการเจ้าของคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วน
3.บริษัทจำกัด
หนี้สิน (Liability) หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่ต้องจ่ายชำระคืนแก่บุคคลภายนอกในอนาคต ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้จำนอง เป็นต้น หนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนภายในระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้าเงินเบิก เกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมจากธนาคารระยะสั้น ตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนิน งานตามปกติของกิจการ เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ พันธบัตรเงินกู้ เป็นต้น
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
สินทรัพย์หมุนเวียน ประกอบไปด้วย
1.เงินสด สินทรัพย์หมุนเวียนที่บ่งบอกสภาพคล่องของธุรกิจ ยิ่งมีเยอะ ยิ่งดี
2.เงินฝาก อีกหนึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญของธุรกิจนั่นคือเงินฝากในธนาคารที่สามารถฝากถอนได้ตามต้องการรวมถึงเช็คเงินสดที่มีการขึ้นวันที่แล้ว
3. เงินลงทุนชั่วคราว เงินลงทุนที่ถือไว้ไม่เกิน 1 ปี เช่น หลักทรัพย์เผื่อขายและตราสารหนี้
4. ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ที่เกิดจากกระบวนการค้าขาย ทำธุรกิจ โดยมีหนี้สินจากลูกหนี้ที่ค้างชำระซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสภาพคล่องให้ธุรกิจได้
5. ตั๋วรับเงิน เป็นตั๋วสัญญาให้เงิน โดยผู้ที่ออกตั๋วจะต้องให้เงินตามที่ระบุในสัญญาแก่ผู้รับเงิน ตั๋วดังกล่าวเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจอย่างหนึ่ง
6. เงินกู้ยืมระยะสั้น อีกหนึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจคือเงินกู้ยืมระยะสั้นเพื่อเป็นทุนในการหมุนเวียนธุรกิจ
7. สินค้าคงเหลือ สำหรับสินค้าคงเหลือในธุรกิจก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสินค้าที่เกิดจากการผลิตในธุรกิจและสามารถแปลเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ถ้าสินค้าคงเหลือมีมากเกินไปแสดงว่าคุณมีเงินทุนจมไปกับสินค้าจำนวนมาก
8. วัสดุสำนักงาน วัสดุต่างๆ ที่ใช้ภายในสำนักงานภายใน 1 ปี เรียกว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเช่นกัน
9. รายได้ค้างรับ รายได้ที่ต้องการได้อย่างแน่นอนแต่อาจจะยังไม่ได้รับในตอนนี้ เช่น ดอกเบี้ย เรียกว่ารายได้ค้างรับที่เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในธุรกิจเช่นกัน
10. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ปิดท้ายด้วยค่าใช้จ่ายค้างรับที่จะกลายเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน นั่นคือค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและสามารถเปลี่ยนเป็นผลประโยชน์ในอนาคต เช่น ประกัน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบไปด้วย
1. ที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์
2. เงินลงทุนระยะยาว
3. ลูกหนี้ระยะยาว
1. ต้องสามารถระบุได้
2.ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ
3.ต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
4. วัดต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ หากรายการใดไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทันที่ ยกเว้นรายการที่เกิดจากการรวมธุรกิจ ให้ถือรายการดังกล่าวเป็นค่าความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2563)
ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น
ค่าความนิยม(goodwill)
สิทธิบัตร (patents)
เครื่องหมายการค้า (trademarks) ยี่ห้อร้าน (trade names)
สิทธิสัญญาเช่า (leaseholds)
ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์(computer software)
ลิขสิทธิ์ (copyrights)
รายชื่อลูกค้า (customer’s list)
ใบอนุญาต (license)
ความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกับผู้ขายสินค้า (customer relationship) เป็นต้น
Today Drink
ทำความเข้าใจกับ เดบิต-เครดิต
เมนูวันนี้ เราจะเสิร์ฟเครื่องดื่มเสริมความรู้ สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ทางด้านบัญชี หรือน้องๆนักบัญชี กับการทำความเข้าใจ "เดบิต" และ "เครดิต"
1. จำนวนเงิน ที่แสดงยอดจำนวนฝั่งซ้ายของบัญชี
2. ตัวอักษรย่อ เดบิต (Debit) = Dr. ใช้เพื่อแสดงกำกับ
- สำหรับการบันทึกบัญชี สินทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้น
- สำหรับการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น
1. จำนวนเงิน ที่แสดงยอดจำนวนฝั่งขวาของบัญชี
2. ตัวอักษรย่อ เครดิต (Credit) = Cr. ใช้เพื่อแสดงกำกับ
- สำหรับการบันทึกบัญชี หนี้สิน ที่เพิ่มขึ้น
- สำหรับการบันทึกบัญชี ส่วนของเจ้าของ ที่เพิ่มขึ้น
- สำหรับการบันทึกบัญชี รายได้ ที่เพิ่มขึ้น
สินทรัพย์
ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = สินทรัพย์เพิ่มขึ้น / เครดิต = สินทรัพย์ลดลง
หนี้สิน
ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = หนี้สินลดลง/ เครดิต = หนี้สินเพิ่มขึ้น
ส่วนของเจ้าของ
ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = ส่วนของเจ้าของลดลง/ เครดิต = ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
รายได้
ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = รายได้ลดลง / เครดิต = รายได้เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่าย
ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น / เครดิต = ค่าใช้จ่ายลดลง
ในระบบผังบัญชีมาตรฐาน (Chart of Account: COA) จะแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1: สินทรัพย์
หมวดที่ 2: หนี้สิน
หมวดที่ 3: ส่วนของเจ้าของ
หมวดที่ 4: รายได้
หมวดที่ 5: ค่าใช้จ่าย
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + (รายได้ - ค่าใช้จ่าย)
เหตุการณ์ 1
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่ ซื้อช้อคโกแลตกล่องสำหรับการจำหน่ายที่ร้านในวันวาเลนไทน์ เป็นมูลค่า 5,000 บาท ชำระด้วยเงินสด
เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
ซื้อช้อคโกแลตกล่องสำหรับจำหน่าย => สินค้าเพิ่มขึ้น => สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่นี้ทางบัญชีจะเรียกว่า "สินค้าคงเหลือ" จัดอยู่ในกลุ่ม "สินทรัพย์(หมุนเวียน)" [สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร อ่านต่อได้ที่นี่]
ชำระด้วยเงินสด => เงินสดลดลง => สินทรัพย์ลดลง
บันทึกรายการบัญชี
12/02/67
Dr. สินค้าคงเหลือ 5,000.-
Cr. เงินสด 5,000.-
เหตุการณ์ 2
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่ ซื้อขนมเค้กสำหรับการจำหน่ายที่ร้านในวันวาเลนไทน์ เป็นมูลค่า 2,000 บาท โดยซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ
เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
ซื้อขนมเค้กสำหรับจำหน่าย => สินค้าเพิ่มขึ้น => สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่นี้ทางบัญชีจะเรียกว่า "สินค้าคงเหลือ" จัดอยู่ในกลุ่ม "สินทรัพย์(หมุนเวียน)" [สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร อ่านต่อได้ที่นี่]
ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ => ยังไม่ได้ชำระเงิน => เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น
บันทึกรายการบัญชี
12/02/67
Dr. สินค้าคงเหลือ 2,000.-
Cr. เจ้าหนี้ 2,000.-
เหตุการณ์ 3
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่ จ่ายชำระหนี้ค่าขนมเค้ก 2,000 บาท โดยชำระเป็นเงินสด
เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
ชำระหนี้ค่าขนมเค้ก => เจ้าหนี้ลดลง
ชำระด้วยเงินสด => เงินสดลดลง => สินทรัพย์ลดลง
บันทึกรายการบัญชี
15/02/67
Dr. เจ้าหนี้ 2,000.-
Cr. เงินสด 2,000.-