วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Today Drink | ทำความเข้าใจกับ เดบิต-เครดิต

 

สำนักงานบัญชีคุณภาพในระยอง สำนักงานบัญชีระยอง บัญชีระยอง จดทะเบียนธุรกิจระยอง จดจัดตั้งบริษัทระยอง eec ระยอง อู่ตะเภาระยอง สรรพากรระยอง ผู้สอบบัญชีระยอง ผู้สอบบัญชีภาษีอากรระยอง อาจารย์ภาษี อาจารย์ภาษีระยอง เทรนนิ่งภาษีระยอง ผู้ทำบัญชีระยอง ที่ปรึกษาทางด้านภาษีและนักวางแผนภาษีในระยอง หนังสือจดหมายเรียกตรวจจากสรรพากรในระยอง ผู้สอบบัญชีรับตรวจสอบบัญชีในระยอง เพิ่มทุน เปลี่ยนกรรมการเข้า-ออก เพิ่มวัตถุประสงค์ของบริษัท ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เพิ่มสาขา เปลี่ยนแปลงตราประทับ  เพิ่มผู้ถือหุ้น ลดผู้ถือหุ้น งานแก้ไขรายการทางทะเบียน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี พร้อมให้คำแนะนำครบ แบบมืออาชีพ จัดทำบัญชี ยื่นภาษี ปิดงบการเงิน จดทะเบียนนิติบุคคล ครบวงจร ยื่นแบบ e-filing ระบบออนไลน์ บริการใส่ใจ ล้ำสมัย ด้วยเทคโนโลยี บจดทะเบียนบริษัทระยอง จดทะเบียนบริษัทระยอง สำนักงานบัญชีระยอง โปรซอฟท์การบัญชี ดีสมาร์ทคอนซัลแทนท์ สถาบันคัสเม่ KASME ProsoftAccounting สำนักงานบัญชีออนไลน์ ทำบัญชี รับทำบัญชี รับทำบัญชีระยอง รับปิดงบการเงิน ฝึกอบรมบัญชีภาษี

Today Drink 
ทำความเข้าใจกับ เดบิต-เครดิต


โดย: สำนักงานบัญชี โปรซอฟท์การบัญชี จังหวัดระยอง
บริหารงานโดย: อ.ดำริ ดวงนภา, ผู้สอบบัญชีภาษีอากร & ผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบัน KASME
ติดต่องานบริการบัญชี: (033) 060 328 (คุณพัชรี), 081-459-8151 (อ.ดำริ)

เมนูวันนี้ เราจะเสิร์ฟเครื่องดื่มเสริมความรู้ สำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ทางด้านบัญชี หรือน้องๆนักบัญชี กับการทำความเข้าใจ "เดบิต" และ "เครดิต"


เดบิต (Debit) คืออะไร ?

1. จำนวนเงิน ที่แสดงยอดจำนวนฝั่งซ้ายของบัญชี 

2. ตัวอักษรย่อ เดบิต (Debit) = Dr. ใช้เพื่อแสดงกำกับ

- สำหรับการบันทึกบัญชี สินทรัพย์ ที่เพิ่มขึ้น

- สำหรับการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น


เครดิต (Credit) คืออะไร ?

1. จำนวนเงิน ที่แสดงยอดจำนวนฝั่งขวาของบัญชี 

2. ตัวอักษรย่อ เครดิต (Credit) = Cr. ใช้เพื่อแสดงกำกับ

- สำหรับการบันทึกบัญชี หนี้สิน ที่เพิ่มขึ้น

- สำหรับการบันทึกบัญชี  ส่วนของเจ้าของ ที่เพิ่มขึ้น

- สำหรับการบันทึกบัญชี รายได้ ที่เพิ่มขึ้น


ทำความเข้าใจ กับฝั่ง เดบิต และ เครดิต

สินทรัพย์ 

ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = สินทรัพย์เพิ่มขึ้น / เครดิต = สินทรัพย์ลดลง

หนี้สิน 

ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = หนี้สินลดลง/ เครดิต = หนี้สินเพิ่มขึ้น

ส่วนของเจ้าของ

ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = ส่วนของเจ้าของลดลง/ เครดิต = ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น

รายได้

ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = รายได้ลดลง / เครดิต = รายได้เพิ่มขึ้น

ค่าใช้จ่าย

ถูกบันทึกอยู่ฝั่ง เดบิต = ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น / เครดิต = ค่าใช้จ่ายลดลง


บัญชี มีกี่หมวด

ในระบบผังบัญชีมาตรฐาน (Chart of Account: COA) จะแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1: สินทรัพย์

หมวดที่ 2: หนี้สิน

หมวดที่ 3: ส่วนของเจ้าของ

หมวดที่ 4: รายได้

หมวดที่ 5: ค่าใช้จ่าย


สมการบัญชีขั้นพื้นฐาน

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ + (รายได้ - ค่าใช้จ่าย)


เริ่มทดลอง บันทึกบัญชี เดบิต เครดิต


เหตุการณ์ 1

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่  ซื้อช้อคโกแลตกล่องสำหรับการจำหน่ายที่ร้านในวันวาเลนไทน์ เป็นมูลค่า 5,000 บาท ชำระด้วยเงินสด

เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 

ซื้อช้อคโกแลตกล่องสำหรับจำหน่าย => สินค้าเพิ่มขึ้น => สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่นี้ทางบัญชีจะเรียกว่า "สินค้าคงเหลือ" จัดอยู่ในกลุ่ม "สินทรัพย์(หมุนเวียน)" [สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร อ่านต่อได้ที่นี่]

ชำระด้วยเงินสด => เงินสดลดลง => สินทรัพย์ลดลง 

บันทึกรายการบัญชี

12/02/67

Dr. สินค้าคงเหลือ   5,000.-  

                     Cr. เงินสด      5,000.-


เหตุการณ์ 2

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่  ซื้อขนมเค้กสำหรับการจำหน่ายที่ร้านในวันวาเลนไทน์ เป็นมูลค่า 2,000 บาท โดยซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ

เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 

ซื้อขนมเค้กสำหรับจำหน่าย => สินค้าเพิ่มขึ้น => สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในที่นี้ทางบัญชีจะเรียกว่า "สินค้าคงเหลือ" จัดอยู่ในกลุ่ม "สินทรัพย์(หมุนเวียน)" [สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร อ่านต่อได้ที่นี่]

ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ => ยังไม่ได้ชำระเงิน => เจ้าหนี้เพิ่มขึ้น

บันทึกรายการบัญชี

12/02/67

Dr. สินค้าคงเหลือ   2,000.-  

                     Cr. เจ้าหนี้      2,000.-


เหตุการณ์ 3

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ร้านกาแฟ Accounting คาเฟ่  จ่ายชำระหนี้ค่าขนมเค้ก 2,000 บาท โดยชำระเป็นเงินสด

เหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 

ชำระหนี้ค่าขนมเค้ก => เจ้าหนี้ลดลง

ชำระด้วยเงินสด => เงินสดลดลง => สินทรัพย์ลดลง

บันทึกรายการบัญชี

15/02/67

Dr. เจ้าหนี้   2,000.-  

                     Cr. เงินสด      2,000.-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น