วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นิติบุคคลใหม่ อย่าลืมลงทะเบียนใช้ระบบ e-Filing ด้วยนะ !

ในปีนี้ มีนโยบายต่างๆจากภาครัฐฯที่เกิดขึ้น เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและสร้างศักยภาพให้กับหน่วยธุรกิจ ไปพร้อมๆกัน เพื่อการขับเคลื่อนประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายที่มีชื่อว่า "ประเทศไทย 4.0"

โดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อกิจการในรูปของนิติบุคคลที่เกิดขึ้นในปีนี้นั้น คือนโยบายในการยื่นนำส่งงบการเงินผ่านระบบ e-Filing ซึ่งเชื่อว่า ณ วันนี้ ชาวบัญชี ต่างรู้จักกันดี โดยในปีนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการบังคับให้ทุกนิติบุคคลยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing 100%

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นิติบุคคลใหม่ ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการจดทะเบียน หรือธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนผ่านรูปแบบกิจการของตนจากรูปบุคคลธรรมดา เป็นในรูปของนิติบุคคล ควรตระหนักถึงความสำคัญในขั้นตอนการขอ Username & Password เพื่อการยื่นงบการเงินบนระบบ e-Filing จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก่อนที่จะถึงวันสุดท้ายในการยื่นงบการเงิน (โดยทั่วไป วันสุดท้ายในการยื่นงบการเงินคือวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปี)

ในวันนี้ สถาบันคัสเม่ จึงขอเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ขั้นตอนสำคัญดังที่กล่าวในข้างต้น ดังนี้ค่ะ

1. ลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบ e-Filing 
>> ท่านสามารถลงทะเบียน online ได้ที่ http://efiling.dbd.go.th แล้วคลิ๊กที่ "ลงทะเบียนใช้ระบบ e-Filing" หรือ ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อกรอกรายละเอียดได้ที่ลิ้งค์นี้ค่ะ >> http://efiling.dbd.go.th/efiling-documents/1_regisform.pdf (กรณีดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อกรอกรายละเอียด อย่าลืมปริ๊นท์ออกมาเพื่อการยื่นพร้อมเอกสารแสดงตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ตามที่แสดงด้านล่างด้วยนะคะ)

2. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันตัวตน
หลังจากดำเนินการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมานั่นคือการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการแสดงตัวตน โดยเอกสารในการจัดเตรียมเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จะแตกต่างตามลักษณะวิธีการยื่นเอกสาร แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 : กรรมการผู้มีอำนาจมายื่นด้วยตนเอง (ไม่มอบอำนาจ)
วิธีที่ 2 : กรรมการผู้มีอำนาจ มอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นเอกสารหลักฐาน (มอบอำนาจ)





หลังจากที่ท่านยื่นเอกสารหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมานั้นคือขั้นตอนการเปิดสิทธิการใช้งาน  โดยท่านจะได้รับอีเมล์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อแจ้งรหัสลับ หรือ รับได้ด้วยตนเอง ณ กรมพัฒฯ โดยเจ้าหน้าที่จะพิมพ์ใบแจ้งรหัสลับให้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าท่านได้แจ้งวิธีการรับรหัสลับแบบใด ซึ่งอ้างอิงตามแบบฟอร์มที่ท่านกรอกในตอนลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบ e-Filing ในครั้งแรก

เมื่อท่านได้รับรหัสลับเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ
1. ให้เข้าไปที่หน้า DBD e-Filing (http://efiling.dbd.go.th) >> คลิ๊กที่ "ยื่นงบการเงินทางอินเทอร์เน็ต" หลังจากนั้นใส่เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก เป็นรหัสผู้ใช้งาน (Username) และ รหัสผ่าน (Password) ที่ได้ระบุไว้ตอนลงทะเบียน
2. เมื่อ Log in เข้าสู่ระบบ DBD e-Filing แล้ว ระบบจะให้ท่านกรอกรหัสลับเพื่อเปิดการใช้งานในครั้งแรก

เมื่อดำเนินการครบทุกขั้นตอนแล้ว จึงถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการการลงทะเบียนเพื่อใช้งาน e-Filing และสามารถใช้เพื่อการยื่นงบการเงินได้ทันที

ดังนั้น นิติบุคคลใหม่ อย่าลืมรีบลงทะเบียนก่อนจะถึงวันสุดท้ายในการยื่นงบการเงินนะคะ และท่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดในคู่มือ e-Filing ฉบับเต็มได้ทาง http://efiling.dbd.go.th/corpmembersignon/downloadManual.html

20 ปี แห่งความไว้วางใจ เพื่อชาวระยองwww.prosoftthai.wix.com/rayongaccounting





วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

DOWNLOAD เลย! คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกระทรวงพาณิชย์

การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับภาคธุรกิจที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาสถานภาพของตนให้ยืนอยู่บนตลาดที่มีการแข่งขันสูงได้อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทั้งปัจจัยที่เกิดจากภายนอกและภายในประเทศ

คู่มือการพัฒนามูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ กระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สถาบันคัสเม่ ขอแนะนำสำหรับท่านผู้ประกอบการทุกท่าน

#เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจและพร้อมยืนหยัดไปด้วยกันค่ะ

ท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือทั้งหมด 75 หน้า ผ่านทางลิ้งค์ด้านล่างได้เลยค่ะ



www.prosoftthai.wix.com/rayongaccounting


วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการภาคบังคับเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเข้าสู่ยุคดิจิตอล กับประเทศไทย 4.0

#updateโครงการภาคบังคับเพื่อการขับเคลื่อนตัวก้าวเข้าไปสู่ยุคDIGITAL กับประเทศไทย 4.0 สาระน่ารู้ที่ผู้ประกอบการ & ชาวนักบัญชีทุกท่าน ไม่ควรพลาดกับโครงการที่กำลังจะมีผลบังคับในเร็วๆนี้ค่ะ

เมื่อนักบัญชีกำลังก้าวสู่ยุค #ประเทศไทย4.0 ยุคแห่งเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม #เรื่องของดิจิตอล จึงถือเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับนักบัญชี ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบงานบัญชีโดยตรง ดังที่เราเห็นได้จาก การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ หรือการนำปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ปรับกับรูปแบบทางบัญชี เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน เทคโนโลยีการศึกษา e-Market Place e-Commerce และสารพัด e e e และ e...

โดยในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ หน่วยงานทางการเงินการคลังกำลังจะปรับการดำเนินงานเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการดำเนินธุรกรรมทางธุรกิจในวงกว้าง ได้แก่ ธนาคารต่างๆ ได้เข้าสู่ขบวนการ National e-Payment โดยให้บริการลงทะเบียน PromptPay (Any ID) ตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา รวมทั้งการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และอีกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักบัญชี ได้แก่ กรมสรรพากร โดยการให้บริการ "ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอสนิกส์" โดยประกอบด้วย 3 ระบบงาน ได้แก่ 1. ระบบ e-Withholding Tax 2. ระบบ e-Tax Invoice/e-Receipt และ 3. ระบบ e-Filing
โดยการดำเนินงานโครงการ National e-Payment นั้น ได้เปิดโอกาสให้ท่านที่ต้องการลองทำธุรกรรมแบบ #สมัครใจกับโครงการ เข้าร่วมโครงการ โดยโครงการแรกเริ่มตั้งแต่เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา นั่นคือการลงทะเบียน PromptPay หรือ AnyID และจะเปิดตัวโครงการต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม 2560 สำหรับไทม์ไลน์ของแต่ละโครงการ เพื่อที่พวกเราชาวนักบัญชีจะได้เตรียมตัวกันให้พร้อม เตรียมอัพเดตกับสถานการณ์ให้ทันยุคประเทศไทย 4.0 ตลอดเวลา จะเป็นเช่นไร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

#TIMELINE โครงการ 1,2,3 & 4
ก.ค. 2559 >>> โครงการ 1 เริ่มให้บริการลงทะเบียน PromptPay (AnyID)
ต.ค. - พ.ย. 2559 >>> โครงการ 2 เริ่มวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, โครงการ 4 เริ่มให้บริการจ่ายสวัสดิการภาครัฐโดยการใช้เลขบัตรประชาชน
ม.ค. 2560 >>> โครงการ 3 เริ่มให้ส่งใบกำกับภาษีทาง e-mail, เริ่มใช้ระบบ e-Tax invoice/e-Receipt, เริ่มคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย PromptPay (AnyID)
.
และหลังจากช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ผู้ทำธุรกรรม #ต้องเข้าร่วมโครงการแบบภาคบังคับ ตามกรอบเวลาการเข้าร่วมโครงการ 3 แบบภาคบังคับตามรูปค่ะ #สำคัญกับพวกเรานะคะ เพราะมันถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศเราจะขับเคลื่อนก้าวไปสู่ยุคดิจิตอล ประเทศไทย 4.0 !


ขอขอบคุณความรู้ดีดีจากFAP Newsletter โดยสภาวิชาชีพบัญชีค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตรียมพบกับงานสัมมนาหลักสูตรใหม่จากสถาบันคัสเม่ #สุขกับอิสรภาพทางการเงิน by อ.มิตรทอง ชูลิตะวงศ์




พบกับสัมมนา จัดโดยสถาบันคัสเม่ ในหลักสูตร "สุข กับอิสรภาพทางการเงิน" วิทยากร .มิตรทอง ชูลิตะวงศ์ (ผู้เขียนนิตยสารดัง "ลุยธุรกิจ", "คุยเฟื่องเรื่องภาษี", "ที่ปรึกษาธุรกิจ 1&2" และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆอีกมากมายโดยงานสัมมนาในครั้งนี้ ท่านจะได้ทราบเทคนิคการบริหารเงินในบัญชีส่วนตัวของท่านอย่างถูกต้อง พร้อมวิธีแนวทาง ที่จะมาแนะนำให้สำหรับท่านที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ในด้าน "การลงทุน" เพื่อสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสมกับวัย และ เป้าหมายในชีวิต

#บวกเจาะลึกประเด็นด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หัวข้อพิเศษสำหรับชาวภาคตะวันออก และท่านที่พำนักอาศัยอยู่ในจังหวัดระยองโดยเฉพาะ ตอบรับกับกระแสการตื่นตัวในภาคอสังหาฯในเขตเมืองอุตสาหกรรม เช่น จังหวัดระยอง ขณะนี้

*****
สำรองที่นั่งวันนี้ พร้อมเปิดโอกาสการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ให้กับตัวท่าน เปิดประตูสู่การสร้างผลตอบแทนให้ชนะอัตราเงินเฟ้อ ไปด้วยกัน www.kasmethai.com/reservations หรือโทร (038) 872-046 (.-. 8.00 - 17.00 .)


++หลักสูตรนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถนับชั่วโมงบัญชีได้ 3 ..+ อื่นๆ 3.30 ..ค่ะ++

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อย่าพลาด!!! กับงานอบรมสำหรับชาวบัญชี ภาษี ประจำปีจัดโดยสถาบันคัสเม่ 4 และ 5 สิงหาคมนี้ สำรองที่นั่งด่วนพร้อมรับส่วนลดพิเศษก่อนใคร!!

สำรองที่นั่งด่วน เพื่อรับส่วนลดพิเศษสูงสุด 25%




Any ID การชำระเงินแบบนานานาม คืออะไร?

Any ID คืออะไร ?

ในปัจจุบัน การทำธุรกรรมทางการเงินจำเป็นต้องใช้เลขบัญชีธนาคารในการดำเนินการ เช่น ฝาก ถอน โอน จ่าย ชำระหนี้ หรืออื่นๆ กับทางธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราทราบกันดีอยู่แล้ว


แต่ในอีกไม่นาน ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในด้านของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน "หมายเลขบัตรประชาชน" หรือ ID ชนิดอื่น เช่น e-mail หรือหมายเลขโทรศัพท์ โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ภาครัฐได้เข้ามามีส่วนสำคัญ ในการผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ในยุคที่เรียกว่า "Any ID"

Any ID จะส่งผลกับใคร และอำนวยความสะดวกได้อย่างไรบ้าง ?

ธนาคารพาณิชย์:
ในขั้นตอนแรก โปรเจกต์ Any ID ซึ่งอยู่ในแผนโครงการ National e-Payment จะเริ่มดำเนินกับธนาคารพาณิชย์ โดยการติดตั้งเครื่องรับบัตรเพื่อรองรับสวิตช์เลข Any ID และหมายเลขบัญชีธนาคารในการทำธุรกรรมทางการเงิน

ประชาชน:
ได้รับความสะดวกในการ เบิก ถอน โอน จ่าย กับธนาคาร โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์ได้ทันที
ได้รับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า หรือบริการจากร้านค้า โดยใช้บัตรเดบิตที่ได้ผูกข้อมูลกับบัตรประชาชน หรือ ID อื่น แทนการใช้เงินสด สามารถนำบัตรรูดกับเครื่อง EDC ตามร้านค้าต่างๆได้ทันที

ร้านค้า/ภาคเอกชน:
ดำเนินการติดตั้งเครื่อง EDC ตามร้านค้าต่างๆ เพื่อรองรับการรับชำระค่าสินค้าหรือบริการ พร้อมกันนี้ภาคเอกชนที่ได้ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนำส่งข้อมูลทางภาษีให้แก่สรรพากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที เช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ประชาชนผู้มีรายได้น้อย:
ระบบ e-Payment ของภาครัฐ เชื่อมโยงไปสู่การจัดสรรสวัสดิการให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยข้อมูลของบุคคล เช่น อาชีพ และ รายได้ จะถูกบันทึกอยู่ในบัตรประชาชน สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลที่นำมาพิจารณามาตรการต่างๆ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น


มีความเสี่ยงต่อการใช้งาน Any ID หรือไม่ ?
เมื่อมีด้านบวกย่อมมีด้านลบ ความเสี่ยงในการใช้งานอาจเกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น บัตรประชาชนสูญหาย ถูกขโมย แฮคข้อมูลในบัตร หรืออื่นๆ ความเสี่ยงเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐ ควรจะตระหนักถึงความสำคัญในด้านความปลอดภัยในการใช้งานบัตรเดบิต แทนการใช้เงินสด รวมทั้งการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านหมายเลข ID และแน่นอนว่าประชาชนส่วนใหญ่ย่อมมีความคาดหวังสำหรับความปลอดภัยในการใช้งาน ด้วยเหตุนี้ก่อนที่เราจะเริ่มก้าวเข้าไปสู่ยุคที่เรียกว่า Any ID 100% ภาคส่วนของรัฐฯควรจะมีนโยบายในการป้องกัน วางแผนด้านความปลอดภัยในการใช้งานอย่างรัดกุม เพื่อให้ Any ID สามารถช่วยอำนวยความสะดวกสบาย และปลอดภัยในการใช้งานสำหรับประชาชน ได้อย่างแท้จริง


ขอขอบคุณบทความจาก
สถาบันคัสเม่
"หน้าต่างแห่งความรู้ ประตูสู่ความสำเร็จ"

สำนักงานบัญชี โปรซอฟท์การบัญชี20 ปี แห่งความไว้วางใจเพื่อชาวระยอง

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เข้าใจอย่างง่ายกับ งบกระแสเงินสด และข้อดีในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด

อ้างอิงจาก: สถาบันคัสเม่

งบกระแสเงินสด หรือ Cash Flow Statement คือ งบการเงินที่แสดงให้เห็นถึง "กระแสเข้า-ออก" ของเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดของกิจการ


โดยงบกระแสเงินสดนั้น เป็นงบประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มของงบการเงินที่สำคัญ อันประกอบไปด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกำไรสะสม และงบกระแสเงินสด


โดยการจำแนกลักษณะกิจกรรมการเคลื่อนไหว เข้า-ออก ของเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ในงบกระแสเงินสดนั้น จะจำแนกได้เป็น 3 กิจกรรม
1. กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
2. กิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
3. กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities)




และเมื่อกล่าวถึงภาพรวมสำหรับส่วนประกอบของงบกระแสเงินสดแล้วนั้น จะได้ดังภาพด้านล่าง


ข้อดีของงบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสดนั้น ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือนักลงทุนเห็นถึงการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของบัญชีเงินสด ส่งผลให้สามารถนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์สภาพคล่องระยะสั้น และความสามารถในการอยู่รอดของกิจการในระยะยาวได้


โดยในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น สิ่งที่เราๆท่านๆอาจพบเห็นได้คือ กิจการที่ล้มละลายหรือมีสภาวะสภาพคล่องที่ไม่ดีในทางกลับกันกลับมีการแสดงผลกำไรที่ดีหรือมีจำนวนมากในงบกำไรขาดทุน คำถามคือ สาเหตุนั้นเป็นเพราะอะไร ?

สำหรับกรณีเช่นนี้ เมื่อเรามองลึกลงไปจะพบว่า ผลกำไรดังกล่าวล้วนมาจากการบันทึกรายได้ที่ยังไม่ได้รับชำระ อันเนื่องมาจากการบันทึกบัญชีตามหลักเกณฑ์คงค้าง ตัวอย่างเช่น การบันทึกรายได้โดยการตั้งลูกหนี้เอาไว้ก่อนที่จะมีการรับชำระเป็นเงินสด แต่ในตอนสุดท้ายกิจการไม่สามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ดังกล่าวนั้นได้ ก็จะทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของเงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนของกิจการโดยตรง


StartFragment EndFragment
ดังนั้น งบกระแสเงินสดที่แสดงให้เห็นถึงการไหลเข้า-ออกของเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด โดยนำกิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะดังที่ได้กล่าวมาไว้ในข้างต้นมาร่วมวิเคราะห์ จะช่วยให้เจ้าของกิจการ นักลงทุน หรือผู้บริหาร สามารถเห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการเงินสด  สภาพคล่อง และสุขภาพทางการเงินของกิจการได้อย่างแท้จริง

บริษัท โปรซอฟท์การบัญชี จำกัด
32/9 ม.3 ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21000 map
เรารับจดทะเบียนธุรกิจการค้า จัดตั้ง/เลิกกิจการ บริการงานด้านบัญชี ตรวจสอบ วางแผนภาษี ฯลฯ
ประสบการณ​์มากกว่า20 ปี ติดต่อเราวันนี้
โทร&แฟกซ์ (038)967-463
E-mail: prosoftthai@gmail.com


วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มาตรการจัดทำบัญชีชุดเดียว บรรยายโดย อ.ดำริ ดวงนภา ในงานการสัมมนาสัญจรจัดโดย K SME

มาตรการการจัดทำบัญชีชุดเดียว
ผู้บรรยาย: อ.ดำริ ดวงนภา ผู้สอบบัญชีภาษีอากร & ผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบันคัสเม่
จัดโดย ธนาคารกสิกรไทย กรมสรรพากร หอการค้าไทย และ หอการค้า จ.ระยอง

โรงแรมคลาสสิคคามิโอ จ.ระยอง



















20 ปีแห่งความไว้วางใจ เพื่อชาวระยอง
map click

Please visit our partner KASME Co., Ltd. here

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บัญชีชุดเดียว ทำอย่างไร ทำได้จริงหรือ? - by สถาบันคัสเม่ ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดระยอง

เรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมจดแจ้งขอเป็นผู้ประกอบการบัญชีชุดเดียวกับสรรพากร
 
"บัญชีชุดเดียว ทำอย่างไร ทำได้จริงหรือ" 
บรรยายโดย อ.ดำริ ดวงนภา ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้อำนวยการหลักสูตรสถาบันคัสเม่ 
วันที่ 4 ก.พ. 2559
 
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข ก่อนที่ได้รับอนุญาติจากสถาบันคัสเม่






20 ปี แห่งความไว้วางใจเพื่อชาวระยอง